ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

ประวัติ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ รำลึกอดีตตู้ต่อคิวยุค 90’s

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ภาพจำยังคงชัดเจน กับตู้หยอดเหรียญสี่เหลี่ยม มีไว้สำหรับติดต่อหากัน ทั้งคุยเรื่องงาน ส่งความคิดถึงให้ทางบ้าน หรือโทรจีบสาว เพียงแค่แลกเหรียญไว้รอ ถึงแม้ว่าจะต้องต่อคิวนานก็ตาม เราจะพามารำลึกถึงอดีต อีกหนึ่งความทรงจำยุค 90’s ที่คนอดหวนคิดถึงไม่ได้เลย

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เผยความเป็นมาฉบับย่อ

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ (Public Telephone Booth) เดิมทีให้บริการเป็น โทรศัพท์บ้านสาธารณะ ในร้านขนาดเล็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 โดยคิดค่าใช้บริการ ครั้งละ 75 สตางค์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 เปิดให้บริการ โทรศัพท์สาธารณะ แบบมีช่องหยอดเหรียญ ซึ่งมีคนดูแลภายในอาคาร

จนในปี พ.ศ. 2522 ถือกำเนิดเป็น ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เปิดให้ใช้ครั้งแรก โดยบริษัท TOT [1] ติดตั้งตู้หยอดเหรียญ ตามท้องถนน ในเขตนครหลวง รวม 100 ตู้ ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี และ ต่อยอดเพิ่มจำนวนเป็น 200,000 ตู้ จนมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น อย่างที่เราได้เคยใช้กัน [2]

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ การใช้งานปัจจุบัน

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ในปัจจุบันกำลังจางหายไป เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 2000 หรือเรียกกันว่ายุค 3G โดยคนส่วนใหญ่ มีโทรศัพท์มือถือ ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถใช้อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ นับแต่นั้นมา ตู้หยอดเหรียญสาธารณะ จึงถูกสั่งถอนกว่า 4,000 ตู้ ทั่วพื้นที่กรุงเทพ

หากเทียบกับสมัยก่อน ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เคยทำรายได้ในกรุงเทพเฉลี่ย 3,000 – 4,000 บาท / ตู้ ภายในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งในปัจจุบัน รายได้ลดลงเฉลี่ย 150 – 200 / ตู้ ภายในหนึ่งเดือน แทบจะไม่มีกำไรอีกต่อไปแล้ว สำหรับตู้ที่ยังคงเหลืออยู่ สามารถใช้งานได้ ตามห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือ โรงงาน เป็นต้น

แนวโน้มการพัฒนา ตู้โทรศัพท์สาธารณะ

ลืมภาพจำเก่าของ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ไปได้เลย หากคุณได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ ในประเทศไทยของเรา ที่ออกแบบโดยบริษัท TOT ติดตั้งแล้วทั่วกรุงเทพ 11 แห่ง เปิดให้ใช้บริการ โทรเบอร์ฉุกเฉินฟรี โทรหมายเลขในพื้นที่ฟรี ชาร์จแบตมือถือผ่าน USB มาพร้อมกับ Free WiFi และ บอกสภาพอากาศได้อีกด้วย

ทั้งยังมีการดัดแปลง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ให้เป็นตู้ชาร์จมือถือ พลังงานแสงอาทิตย์ จากคณะวิศวกรรมมหิดล ร่วมมือกับบริษัท TOT สำหรับตอบโจทย์ เศรษฐกิจหมุนเวียน [3] ภายในหนึ่งตู้ สามารถชาร์จได้พร้อมกัน 5 เครื่อง สามารถใช้บริการได้ ตามโรงพยาบาลในกรุงเทพ และ มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนตู้มากขึ้น

สรุป ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ของตกยุคที่ยังไม่อวสาน

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ความทรงจำที่กลายเป็น ของตกยุคไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ถึงคราวอวสาน จากที่เคยเป็นตู้หยอดเหรียญ ครั้งละ 75 สตางค์ ทำรายได้ 3,000 – 4,000 บาทต่อสัปดาห์ จนพัฒนามาเป็น ตู้ชาร์จแบตมือถือฟรี ให้เข้ากับยุคสมัย ที่ยังคงต้องมีการปรับตัว กันอีกในอนาคต

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (December 15, 2023). ทีโอที. Retrieved from Wikipedia

[2] Youtube. (November 21, 2023). ตำนาน ตู้โทรศัพท์ จากจุดกำเนิด จนถึงวันตาย!. Retrieved from Youtube

[3] Wikipedia. (March 18, 2024). Circular economy. Retrieved from Wikipedia