ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

ประวัติ กีฬาพื้นบ้าน เจาะลึกการละเล่นของไทยสมัยวัยเด็ก

กีฬาพื้นบ้าน

กีฬาพื้นบ้าน พาย้อนวันวาน กับการละเล่นสมัยวัยเด็ก หนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม และมรดกของไทย มาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แสดงถึงการใช้ชีวิต ของคนไทยสมัยก่อน ซึ่งการละเล่น แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ล้วนสร้างสีสัน ความสนุกสนาน ให้กับหลายคนได้ไม่น้อยเลย

เปิดความเป็นมา กีฬาพื้นบ้าน แห่งสยาม

เล่าถึงความเป็นมาของ กีฬาพื้นบ้าน หรือเรียกกันว่า กีฬาพื้นเมือง มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ. 1781 – 1921 โดยมีเป้าหมายของการเล่น เพื่อความสนุกสนาน และเป็นการฝึกต่อสู้ ป้องกันตัวจากศึกสงคราม ส่วนใหญ่มักจะเล่นกัน ในงานสังสรรค์ของชาวบ้าน และพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน [1]

ประเภท กีฬา พื้นบ้าน ของไทย

การละเล่นของไทย ถูกรวบรวมโดยกรมพลศึกษาทั้งหมด 1,200 ชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การละเล่นพื้นบ้านกลางแจ้ง และ การละเล่นพื้นบ้านในร่ม โดยแต่ละประเภทนั้น ก็ถูกแบ่งย่อยเป็น มีบทร้องประกอบ กับ ไม่มีบทร้องประกอบ และมีเนื้อหาแตกต่างกันไป ตามภาษาท้องถิ่น

ลักษณะการละเล่นของ กีฬาพื้นบ้าน

กีฬาพื้นบ้าน

กีฬาพื้นบ้าน ต่างจากกีฬาสากลอย่าง ฟุตบอล บาส ปิงปอง ที่ใช้ลูกกลม ๆในการเล่น เพราะมีลักษณะการละเล่นหลายแบบมากกว่า ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่มีอุปกรณ์ในการเล่น แต่ถ้าหากใช้อุปกรณ์ สามารถหาได้ตามธรรมชาติ หรือในชีวิตประจำวัน โดยการละเล่นต่าง ๆ มักเล่นกันบนบก ซึ่งก็มีบางชนิดที่เล่นกันตามแม่น้ำลำคลอง ของเด็กภาคใต้ อย่างเช่น ดำน้ำ เรือกระดอง ค่อนโฉงค่อนฉาง เป็นต้น

พื้นที่ของการละเล่น มีทั้งไม่กำหนดขอบเขต และกำหนดขอบเขต ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ ตามจำนวนของผู้เล่น จะมีวิธีเล่นแบบง่าย ๆ เช่น การวิ่งไล่จับ การฉุดกระชาก การแอบซ่อนหา การเคลื่อนที่ชิงชัย การทอยหรือดีด การเสี่ยงทาย โดยผู้เล่นจะตั้งกติกา เข้าใจกันทั้งสองฝ่าย เล่นจนจบเกม และตัดสินแพ้ชนะกันเอง

รวบรวม กีฬาพื้นบ้าน ของเมืองไทย

กิจกรรมสันทนาการ ความบันเทิงตั้งแต่สมัยอดีต ถูกสืบทอดสานต่อกันมายาวนาน ในปัจจุบันบางหลักสูตร ถูกบรรจุในวิชาพลศึกษาด้วย โดยกีฬาของไทยนั้นมีมากมาย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่น แม้ว่าจะเป็นกีฬาประเภทเดียวกัน ก็อาจเล่นหรือมีบทร้องประกอบต่างกัน ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างมาก

กีฬาพื้นบ้าน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

กีฬาพื้นบ้าน

กีฬาพื้นบ้าน มีด้วยกัน 4 ภาค โดยมีการละเล่นที่นิยมเล่นกัน ประกอบด้วย วิ่งเปี้ยว (วิ่งแข่งตีอีกฝ่ายอ้อมเสาหลัก), กระโดดเชือก (แข่งกระโดดข้ามเชือกไปมา), ขี่ม้าส่งเมือง (การเล่นขี่คอส่งถึงที่หมาย), มอญซ่อนผ้า (การซ่อนผ้า ไว้ข้างหลังคนล้อมวง แล้ววิ่งไล่ตีกัน), รีรีข้าวสาร (ทำซุ้มมือประสาน คล้องตัวผู้เล่น)

ตี่จับ (วิ่งไล่จับ กลั้นลมหายใจ ข้ามเส้นแบ่งเขต), งูกินหาง (การไล่จับคนในแถวยาว พร้อมถามโต้ตอบ), เดินกะลา (แข่งทรงตัวเดินบนกะลา), ลิงชิงหลัก (แข่งวิ่งเปลี่ยนเสาหลัก), ตีลูกล้อ (แข่งตีวงล้อกลิ้ง ประคองเข้าเส้นชัย), เสือข้ามห้วย (แข่งกระโดดสูงข้ามเพื่อน), กระต่ายขาเดียว (วิ่งไล่จับกระโดดขาเดียว) เป็นต้น [2]

ประโยชน์และคุณค่าของ กีฬาพื้นบ้าน

การละเล่นพื้นบ้านไทย นับว่ามีประโยชน์และคุณค่ามากมาย จากผลการวิจัยของปี 2566 สถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว พบว่าช่วยส่งเสริมพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สภาพแวดล้อมทางสังคม และด้านสติปัญญา ทั้งยังสะท้อนวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ช่วยรักษามรดกทางวัฒนธรรมไทย และต้นแบบทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี [3]

สรุป กีฬาพื้นบ้าน

กีฬาพื้นบ้าน กิจกรรมการละเล่นของไทย นิยมมาตั้งแต่สมัย พ.ศ. 1781 รวมแล้วกว่า 1,200 ชนิด ทั้งแบบเล่นกลางแจ้ง และเล่นในร่ม ที่ถูกสืบสานต่อกันมายาวนาน มีประโยชน์หลายด้าน สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ หนึ่งในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ให้คงอยู่คู่กับการศึกษาไทยในปัจจุบัน

อ้างอิง

[1] สมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย. (2024). ประวัติกีฬาพื้นบ้าน. Retrieved from thaisports

[2] ไทยรัฐออนไลน์. (November 9, 2021). 12 การละเล่นไทย มีอะไรบ้าง. Retrieved from thairath

[3] mgronline. (January 14, 2023). “การละเล่นไทย” เสริมพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน. Retrieved from mgronline