ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

แพ้กุ้ง อันตรายกว่าที่คิด มาทำความรู้จักและเข้าใจอาการกัน

แพ้กุ้ง

แพ้กุ้ง หนึ่งในอาการแพ้อาหารที่มีคนเป็นกันมาก สามารถเป็นได้ทุกคน ไม่ว่าทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่ ในแต่ละคนมักจะมีอาการแพ้ ที่ระดับความรุนแรงไม่เหมือนกัน ทั้งรุนแรงมาก ในระบบทางเดินหายใจ หรือเล็กน้อยผื่นคันที่ผิวหนัง อาการแพ้อาจจะเกิดหลังจากทานกุ้งในไม่กี่นาที หรือนานเป็นชั่วโมงได้

แพ้กุ้ง สาเหตุเกิดจากอะไร ป้องกันการแพ้ได้ไหม?

แพ้กุ้ง

หลายคนคงสงสัยว่าสาเหตุที่ แพ้กุ้ง จริงๆแล้วเกิดจากอะไร เพราะในบางคนตอนเด็ก ทานกุ้งได้ปกติ หรือเคยชอบกินกุ้งมากๆ แต่โตมากลับมีอาการแพ้ จนไม่สามารถรับประทานกุ้งได้อีกเลย จึงเกิดความสงสัยว่า จะสามารถป้องกันการแพ้ได้หรือไม่ ซึ่งเราป้องกันการเกิดอาการแพ้ไม่ได้ และมีสาเหตุที่ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ หรือจากกรรมพันธุ์

อาการแพ้ปกติ ในระบบผิวหนัง และทางเดินอาหาร

อาการแพ้กุ้งมีระดับความรุนแรงปกติ และรุนแรงมาก ในระดับปกติ มักเกิดในระบบผิวหนัง และทางเดินอาหาร คือมีอาการเป็นผื่นคันบริเวณผิวหนัง อาจขึ้นได้ทั้งในปาก ริมฝีปาก แขนขา ใบหน้า ลำตัว มักมีอาการคันและแดง ในระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสียได้ [1]

อาการแพ้ระดับรุนแรง ในระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาท

การแพ้ในระดับรุนแรงนี้ จะมีความน่ากังวล เนื่องจากเกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาท อาจมีอาการบวม และคันตั้งแต่ในปาก ลิ้น ไปจนถึงหลอดลม ซึ่งมีความอันตราย หากมีอาการบวมจนเกิดกันปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ขาดอากาศ หรือช็อกหมดสติได้ ส่วนในระบบประสาท อาจมีอาการเวียนหัว หน้ามืดเป็นลมได้

รีวิว แพ้กุ้ง ประสบการณ์การแพ้อาหาร ระดับรุนแรง

แพ้กุ้ง

อาการ แพ้กุ้ง ที่พบเจอด้วยตัวเอง ค่อนข้างมีความรุนแรง ระดับของความรุนแรงนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ การปนเปื้อนในอาหาร เช่นย่างกุ้งและปลาหมึก บนตะแกรงเดียวกัน อาการแพ้จะเกิดขึ้นใน 5 นาที จะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก รู้สึกได้ถึงหลอดลมที่บวม เหมือนมีก้อนอุดกั้นที่ลำคอ มีอาการหัวใจเต้นเร็วตัวร้อน และหน้ามืด หากได้รับในปริมาณที่มากขึ้น เช่นถ้าเผลอทานกุ้ง 1 ตัว ก็อาจแสดงอาการภายใน 2 นาที และทำให้เสียชีวิตได้ หากไปพบแพทย์ได้ไม่ทันเวลา

ตรวจเช็กเพื่อความชัวร์ แพ้กุ้ง จริงหรือไม่

เพื่อความชัวร์และแน่นอน หากสงสัยว่าอาจจะแพ้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจน ในปัจจุบันนี้มาการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ 2 วิธี คือการทำ Skin Test และการตรวจเลือด การตรวจเลือดจะสามารถตรวจสารก่อภูมิแพ้ได้มากกว่า ที่ต้องตรวจให้ชัดเจน เพราะหากแพ้กุ้งอาจจะแพ้อาหารอื่นๆ ที่มีโครงสร้างโปรตีนเดียวกันได้เช่น ปู กั้ง และแมลงบางชนิด

ดูแลตัวเองฉบับคน แพ้กุ้ง ต้องหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

คนที่รู้ตัวว่า แพ้กุ้ง นอกจากจะหลีกเลี่ยงอาหารประเภทกุ้งแล้ว ควรระมัดระวังเมื่อทานอาหารนอกบ้าน เช่นอาจมีการปนเปื้อนในกระทะ ในร้านอาหารตามสั่ง น้ำลวกก๋วยเตี๋ยว หรือว่าครกส้มตำ หากร้านอาหารมีเมนูเกี่ยวกับกุ้ง ควรสอบถาม และแจ้งร้านค้าให้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และข้อควรระวังในผู้ที่แพ้รุนแรง ไม่ควรลองทานเพื่อให้หายแพ้ เพราะร่างกายไม่สามารถหายด้วยตัวเองได้ และอาการแพ้ในแต่ละครั้ง จะมีความรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย

สรุป แพ้กุ้ง รักษาหายได้หรือไม่ มีโอกาสกลับมากินได้อีกไหม?

แพ้กุ้ง

ต้องบอกไว้ก่อนว่าในปัจจุบันนี้ ไม่สามารถรักษาอาการ แพ้กุ้ง ให้หายได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้น และไม่สามารถป้องกันการเกิดอาการแพ้ได้ หากพ่อแม่มีอาการแพ้ ลูกอาจแพ้ด้วย เพราะฉะนั้นคำพูดที่ว่า กินเข้าไปจะได้ชนะ ใช้ไม่ได้กับอาการแพ้อาหาร ไม่เหมือนการแข่งกีฬา เราจึงทำได้เพียงระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงอาการที่แพ้เพียงเท่านั้น ไม่แน่ว่าในอนาคต การมีวิธีการแพทย์สมัยใหม่ ที่สามารถรักษา และทำให้กลับมาทานกุ้งได้อีกครั้ง

อ้างอิง

[1] sanook. (November 28, 2023). “แพ้กุ้ง” จะหายแพ้ได้ไหม. Retrieved from sanook