ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

วงดนตรีไทยเดิม เอกลักษณ์ความเป็นไทย

วงดนตรีไทยเดิม

วงดนตรีไทยเดิม เป็นวงดนตรีที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่น ร้องแบบการเอื้อน หรือ การทรวง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ววงดนตรีไทยเดิมจะใช้เครื่องดนตรีที่มีอยู่ในปัจจุบันในการบรรเลงเพลง ซึ่งเครื่องดนตรีไทยบางชนิดก็มีต้นกำเนิดมาจากต่างแดนด้วย [1]

วงดนตรีไทยเดิม มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท

ประเภทของ วงดนตรีไทยเดิม

ต้องบอกก่อนว่า วงดนตรีไทยเดิม นั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่อยู่คู่ชาวไทยมาอย่างนาน ซึ่งวงดนตรีชนิดถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ และ วงมโหรี โดยแต่ละวงจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

  1. วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย จะมีลักษณะเด่น คือ การใช้เครื่องดนตรีที่มีสาย อันมีเครื่องดีดและเครื่องสีเป็นตัวหลักหรือเรียกได้ว่าเป็นประธานของวง โดยจะมีทั้งเครื่องสายแบบคู่ และ แบบผสม

  1. วงมโหรี

วงมโหรี เป็นวงที่จะใช้เครื่องดนตรีประเภทดีดสีตีเป่าทั้งหมดรวมกัน ในสมัยแรกจะใช้ผู้ชายในการเล่น ต่อมาในสมัยอยุธยาได้มีการใช้ผู้หญิงเล่น หากพูดถึงชื่อมโหรีก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นของผู้หญิงเล่น

  1. วงปี่พาทย์

เป็นวงที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เครื่องตี และ เครื่องกำกับจังหวะ ในการเล่น ประเภทเครื่องตีของวงปี่พาทย์จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ปี่พาทย์ไม้แข็งและปี่พาทย์ไม้นวม [2]

วงดนตรีไทยเดิม มักบรรเลงในโอกาสใด

แท้จริงแล้ว วงดนตรีไทยเดิม นั้นมักนำมาใช้บรรเลงเพลงในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มักนำไปใช้ในงานศพแทน เนื่องจากนานมาแล้วได้มีการนำวงปี่พาทย์มาใช้บรรเลงในงานพระบรมศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ จึงทำให้คนไทยเชื่อและยึดถือกันมาโดยตลอดว่า วงปี่พาทย์หรือเพลงไทยเดิมนั้นจะต้องเอามาใช้ในงานศพเท่านั้น

วงดนตรีไทยเดิม มีเพลงทั้งหมด 4 แบบ 

วงดนตรีไทยเดิม จะมีการแบ่งแยกประเภทเพลงอยู่ทั้งหมด 4 แบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีรายละเอียดและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. เพลงหน้าพาทย์

เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้ประกอบอากัปกิริยาของตัวละครโขน หรือ อาจจะใช้สำหรับการอันเชิญฤษี เทวดา และครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เพลงหน้าพาทย์เรียกได้ว่าเป็นเพลงชั้นสูงที่มีความศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่มีการดัดแปลงหรือปรับแต่งทำนองเดิมเลย

  1. เพลงละคร

เพลงละครเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงโขนเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังใช้ในโอกาสมหรสพต่างๆ ซึ่งผู้คนมักจะหมายเพลงที่มีเนื้อร้องและดนตรีรับเท่านั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม หรือ เพลงพญาโศก เป็นต้น

  1. เพลงขับร้อง

เพลงขับร้อง คือเพลงที่พอคนร้องได้ร้องจบไปแล้ว ก็จะมีดนตรีบรรเลงขึ้นรับในท่อนนั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้น เช่น เพลงบุหลันเถา หรือ เพลงจระเข้ฟาดหางยาว เป็นต้น

  1. เพลงเบ็ดเตล็ด

เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ เล็กๆ ที่ใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เรียกว่าเป็นเพลงลูกบท 

รีวิวเพลงที่มาจาก วงดนตรีไทยเดิม

รีวิววงดนตรีไทยเดิม

แน่นอนว่า วงดนตรีไทยเดิม นั้นเป็นวงดนตรีที่มีการบรรเลงเพลงที่ไพเราะเสนาะหูทำให้ฟังได้อย่างเพลิดเพลินใจ อีกทั้งยังทำให้หลับสบายอีกด้วย โดยส่วนตัวผู้เขียนนั้นมักจะชอบฟัง เพลงลาวดวงเดือน เชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นกับชื่อเพลงนี้กันเป็นอย่างดี เป็นเพลงที่ฟังมาตั้งแต่เด็กและรู้สึกว่าเป็นเพลงรักที่ซาบซึ้งตราตรึงใจ อีกทั้งยังถ่ายทอดความรู้สึกให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

เปรียบเทียบ วงดนตรีไทยเดิม กับ วงดนตรีสากล

เปรียบเททียบวงดนตรี

ที่เราได้นำเอา วงดนตรีสากล มาเปรียบเทียบกับ วงดนตรีไทยเดิม ก็เพราะว่าวงดนตรี 2 ชนิดนี้มักมีข้อแตกต่างที่เห็นกันได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อร้องทำน้องหรือแม้แต่กระทั่งเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มักนิยมฟังเพลงสากลกันมาก เราจึงอยากจะอยากรับรู้ถึงข้อดีของการฟังเพลงไทยเดิม ดังนี้


  • เพลงไทยเดิมเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสละสลวย ฟังง่าย และยังช่วยทำให้ผู้ฟังหลับสบายอีกด้วย ในสมัยก่อนนั้นคนไทยมักเอาไปร้องกล่อมเด็ก
  • เพลงไทยเดิมให้อารมณ์แก่ผู้ฟังได้อย่างหลากหลายทั้ง เศร้าโศก โกรธ รัก โดยเนื้อเพลงนั้นๆ จะมีเนื้อหาที่ค่อนข้างชัดเจน เช่น เพลงลาวครวญ ธรณีกันแสง หรือ มอญร้องไห้ เป็นต้น
  • เพลงไทยเดิมมักให้ความรู้เสมือนว่าเราได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ ยิ่งฟังยิ่งทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน

สรุป วงดนตรีไทยเดิม

จากภาพรวมผู้เขียนคิดว่า วงดนตรีไทยเดิม นั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมายาวอย่างนานและเราควรเก็บรักษาสิ่งนี้ไว้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมานานแล้วแต่ เพลงไทยเดิม ก็ยังคงเป็นเพลงอันศักดิ์สิทธิ์และยังเป็นเพลงที่คนไทยมักนำมาใช้ในโอกาสต่างๆ อยู่

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (October 9, 2021). วงดนตรีไทยเดิม. Retrieved from https://th.wikipedia.

[2] lib.ru.ac.th (November 17, 2011) ประเภทของวงดนตรีไทยเดิม Retrieved from https://www.lib.ru.ac.th