ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

ทดสอบ ภาวะสิ้นยินดี เฉยชาหนักกว่าซึมเศร้า รับมือยังไง?

ภาวะสิ้นยินดี

ภาวะสิ้นยินดี ความสุขครั้งล่าสุดของคุณ เกิดขึ้นเมื่อไหร่? จะเป็นอย่างไรต่อไป หากไม่มีความรู้สึกอีกแล้ว สภาวะของการเฉยชา ไม่รู้สึกยินดียินร้าย กับสิ่งรอบตัว เสมือนเป็นโล่ป้องกันตัวเอง แต่หารู้ไม่ว่า หากปล่อยไว้นาน จะเป็นความว่างเปล่า เป็นปัญหาทางจิต แบบไม่ทันรู้ตัว แล้วเราควรรับมืออย่างไรกันดี

ทำความเข้าใจกับ ภาวะสิ้นยินดี ปัญหาทางจิตเป็นไม่รู้ตัว

ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) [1] ความผิดปกติทางจิตเวช ไร้ความพึงพอใจ ไม่ยินดียินร้าย กับทุกสิ่งในชีวิต ทั้งความสุข ความทุกข์ ความเศร้าเสียใจ ความยินดี โดยที่ไม่รู้สึกตัว ว่ากำลังเป็นอยู่ เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของอาการซึมเศร้า ซึ่งอาการแต่ละคนจะต่างกัน โดยความเสี่ยง มักเกิดกับเพศหญิง เป็นส่วนมาก

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทางสังคม (Social Anhedonia) และ ทางกายภาพ (Physical Anhedonia) โดยทางสังคม เป็นกลุ่มคนที่ไม่อยากใช้เวลา ร่วมกับคนอื่น หรือ ไม่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับใคร สำหรับทางกายภาพ จะมีอาการ ด้านความรู้สึกเปลี่ยนไป มีแนวโน้มที่จะเป็น อารมณ์เชิงลบมากขึ้น

เช็กสาเหตุและอาการของคน ภาวะสิ้นยินดี

ภาวะสิ้นยินดี

มาดูสาเหตุของ ภาวะสิ้นยินดี กันก่อนเลย คือ จากการเปลี่ยนแปลงในสมอง ที่มีความผิดปกติในการตอบสนอง ต่อสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น ให้ร่างกายเกิดความรู้สึกดี พึงพอใจ จึงทำให้ไม่สามารถรับรู้ หรือ สร้างความสุขได้ จนเกิดอาการด้านชา และว่างเปล่า

ถึงเวลาของการตรวจเช็ก อาการเบื้องต้นกันว่า คุณกำลังเป็น ภาวะสิ้นยินดี อยู่หรือไม่ หากมีอาการอย่างน้อยเกินครึ่ง หรือ ครบทุกข้อเลย ถือว่าเข้าข่าย ควรพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

  • ความรู้สึกด้านชา ไม่แสดงอารมณ์ หรือ การกระทำ ต่อสิ่งรอบตัว
  • เก็บตัว แยกออกจากสังคม มีปฏิสัมพันธ์ลดลง
  • สิ้นหวัง หรือ ไม่มีเป้าหมายในชีวิต
  • ความต้องการทางเพศน้อยลง
  • สร้างความคิดด้านลบ กับตัวเองและผู้อื่น
  • ความสุขจากสิ่งที่ชอบหายไป
  • ฝืนแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่อหน้าคนอื่น
  • ไร้การตอบสนอง เมื่อได้รับคำปลอบใจ หรือ การปลอบโยน
  • ขาดการดูแลตัวเอง จนเจ็บป่วยบ่อยครั้ง อยากอยู่เฉย ๆ
  • อารมณ์จมดิ่ง เกิดการทำร้ายตัวเอง

ภาวะสิ้นยินดี เร่งแก้ปัญหาก่อนอาการหนัก

สำหรับ ภาวะสิ้นยินดี หากปล่อยไว้นาน จะมีอาการแย่ลง เรียกว่าหนักกว่า อาการซึมเศร้าเสียอีก โดยทั้งสองอาการ มีความคล้ายกันตรงที่ มีความคิดด้านลบ มากกว่าด้านบวก เมื่อรู้ตัวเองแล้ว สามารถแก้ปัญหาทางจิตได้ ด้วยการเริ่มต้นจากตัวเอง เติมพลังบวก ในสิ่งที่เคยชอบดูอีกสักครั้ง ทีละเล็กน้อย

เติมความรัก ให้กับตัวเองมากขึ้น หรือจะเป็นการฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจ ในการทำบางอย่าง ให้สำเร็จในแต่ละวัน อย่างค่อยเป็นค่อยไป และ หาความสุขระหว่างทาง การทำกิจกรรมต่าง ๆ ออกไปเจอแสงแดด หรือ ธรรมชาติข้างนอกบ้าง รวมถึงสามารถ ปรึกษานักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

สรุป ภาวะสิ้นยินดี ปรับความคิดกลับมายินดีดังเดิม

ภาวะสิ้นยินดี แค่ปรับเปลี่ยนความคิด และ พฤติกรรมของตัวเราเอง เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ เท่านั้น พร้อมทั้งทำตามคำแนะนำ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก็จะเป็นการหลุดพ้น จากอาการด้านชา หรือ ความรู้สึกว่างเปล่าไร้จุดหมาย ให้ตัวเองกลับมา เป็นคนยินดียินร้าย ในชีวิตได้เหมือนเดิม

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (March 12, 2024). Anhedonia. Retrieved from Wikipedia