ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

ท่องเที่ยว ถ้ำคริสตัล เหมืองคริสตัลขนาดยักษ์ในเม็กซิโก

ถ้ำคริสตัล

ถ้ำคริสตัล ขึ้นชื่อสถานที่สวยอันตราย เหมืองคริสตัลยักษ์ ชวนมาศึกษาธรรมชาติ ในประเทศเม็กซิโก แหล่งกำเนิดของแร่ธาตุยิปซัมขนาดใหญ่ สถานที่ที่ใครต่างก็อยากเห็นด้วยตา แต่ไม่อยากเข้าไปสัมผัส เต็มไปด้วยความงดงามเหนือบรรยาย ภายในถ้ำใต้ดินอันมืดมิด และความอันตรายถึงแก่ชีวิตแน่นอน

ถ้ำคริสตัล ข้อมูลลักษณะทางธรณีวิทยา

ถ้ำคริสตัล (Cave of the Crystals) หรือถ้ำแห่งคริสตัลยักษ์ เหมืองไนกา (Naica) ตั้งอยู่ในรัฐชิวาวา ทางตอนเหนือประเทศเม็กซิโก เหมืองที่เต็มไปด้วยผลึก แร่ธรรมชาติขนาดใหญ่ โดยมีพื้นที่ความยาว ประมาณ 109 เมตร และปริมาตร 5,000 – 6,000 ลูกบาศก์เมตร

ประกอบด้วยแร่ยิปซัมขนาดมหึมา อยู่ในโพรงใต้ดิน ความลึกประมาณ 300 เมตร โดยแร่มีลักษณะโปร่งใส ค้นพบขนาดใหญ่ที่สุดคือ 11.40 เมตร ด้วยปริมาตร 5 ลูกบาศก์เมตร และมวลรวม 12 ตัน รวมถึงมีตะกั่ว สังกะสี และเงิน แทรกอยู่ในชั้นหินปูนภายในถ้ำอีกด้วย [1]

การค้นพบครั้งแรกของ ถ้ำคริสตัล

ถ้ำแห่งคริสตัลถูกค้นพบครั้งแรก เรียกว่า “Cueva de las Espadas” หรือถ้ำแห่งดาบ (Cave of Swords) ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2000 โดยคนงานสองพี่น้อง (Floy & Javier Delgado) จากการระเบิดอุโมงค์ใต้ดินบริเวณแนวรอยเลื่อน เพื่อค้นหาแร่เงิน สังกะสี และตะกั่ว โดยมีความลึกประมาณ 120 เมตร

หลังจากนั้นในปีเดียวกัน ก็มีการค้นพบถ้ำเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง คือ Queen’s Eye Cave และ Candles’ Cave ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ยังพบถ้ำแห่งใหม่ คือ Ice Palace มีความลึกอยู่ที่ประมาณ 150 เมตร โดยเป็นผลึกแร่สภาพดีที่ค่อนข้างเล็กกว่า [2]

ถ้ำคริสตัล เกิดได้อย่างไร?

ถ้ำคริสตัล

ย้อนรอยไปตั้งแต่ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) ยุคธรณีกาลของโลก ประมาณ 112 ล้านปีก่อน ภายในถ้ำใต้ดินเป็นหินปูน จะประกอบไปด้วยโพรง ความร้อนสูง และทางแร่น้ำร้อนไหลผ่าน เมื่อน้ำร้อนไหลมายังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ส่งผลทำให้เกิดการตกตะกอนของเกลือ สะสมกันเป็นจำนวนมาก

ซึ่งน้ำในใต้ดินมีความเป็นกำมะถันสูง จะเริ่มละลายผนังหินปูน ก่อให้เกิดสารละลาย แคลเซียมปริมาณมาก และรวมตัวกับกำมะถัน จนเป็นผลึกแร่ขนาดใหญ่ เป็นระยะเวลานานหลายปี โดยไม่มีสีโปร่งใส รูปทรงแท่งปลายแหลม และผลึกแร่เป็นก้อน กระจัดกระจายอีกมากมาย [3]

ถ้ำคริสตัล ธรรมชาติสุดแปลกแห่งเม็กซิโก

สถานที่แปลกในเม็กซิโก ด้วยแท่งคริสตัลขนาดใหญ่โต ราวกับว่าเป็นเมืองหนึ่งในถ้ำ ซึ่งมีความสวยงามติดอันดับต้น ๆ ของโลก แต่อากาศภายใน อาจไม่เหมาะแก่การท่องเที่ยว จึงเป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติ จากด้านนอกของถ้ำ และการเรียนรู้จากภาพถ่าย ของโครงการ Naica อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

สภาพแวดล้อมภายใน ถ้ำคริสตัล

ถ้ำคริสตัล

สภาพแวดล้อมของถ้ำแห่งคริสตัล มีสภาพเป็นไอน้ำร้อนตลอดเวลา ด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส และมีความชื้น 100% โดยมนุษย์ไม่สามารถทนอยู่ในถ้ำได้นาน หากไม่มีชุดกับเครื่องป้องกัน ซึ่งคนงานเหมืองหรือนักสำรวจ จะสามารถทำงาน ในสภาพแวดล้อมนี้ได้เพียง 6 – 10 นาทีเท่านั้น หากอยู่นานเกินกว่า 15 นาที อาจส่งผลเสียต่อชีวิตได้เช่นกัน

ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับ ถ้ำคริสตัล

เกร็ดความรู้รอบตัว สำหรับการท่องเที่ยว เชิงศึกษาธรรมชาติ สามารถเรียนรู้ได้ดังต่อไปนี้

  • ผลึกแร่คริสตัลยักษ์ มีความแข็งแรง น้อยกว่าเล็บของมนุษย์
  • ตามข้อสันนิษฐาน ผลึกแร่ที่ใหญ่ที่สุดในถ้ำ มีอายุประมาณ 500,000 ปี
  • อุณหภูมิสูงภายใน มาจากใต้พื้นโลก ของกระเปาะหินหนืด (Magma Chamber) ลึกลงไป 2 กิโลเมตร เป็นตัวให้ความร้อนสูง ไหลผ่านตามแนวเทือกเขา
  • เหมืองไนกา ต้องสูบน้ำออกในปริมาณ 55 – 100 ลูกบาศก์เมตร / นาที ตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวัน
  • น้ำในเหมืองที่ไหลออก ก่อให้เกิดทะเลสาบ ท่ามกลางทะเลทราย Chihuahua
  • เหมืองคริสตัล เป็นเหมืองผลิตตะกั่วมากที่สุดในโลก และมีแร่เงินปริมาณมาก
  • ชุดป้องกันของนักสำรวจ ประกอบด้วยแท่งน้ำแข็ง สำหรับควบคุมอุณหภูมิร่างกาย รวมถึงระบบหายใจ โดยมีน้ำหนักของชุดมากถึง 20 กิโลกรัม

สรุป ถ้ำคริสตัล “Crystal Cave”

ถ้ำคริสตัล แหล่งศึกษาธรรมชาติ ในเหมืองไนกา ประเทศเม็กซิโก ที่เต็มไปด้วยผลึกแร่ยิปซัม จนเกิดเป็นแท่งคริสตัลโปร่งใส ระยิบระยับมากมาย อายุยาวนานกว่า 500,000 ปี สำหรับใครที่ชื่นชอบแร่ธาตุจากธรรมชาติ สามารถท่องเที่ยวได้แบบใกล้ชิด แนะนำให้เช็กอิน ทะเลสาบสปอทเลค แร่ธาตุหลากสีที่แคนาดา

อ้างอิง

[1] Wikipedia. (May 4, 2024). Cave of the Crystals. Retrieved from Wikipedia

[2] sciencesssss. (March 27, 2021). ชมความงามของ Cave of Crystals. Retrieved from sciencesssssmail

[3] geothai. (November 11, 2012). ถ้ำคริสตัลยักษ์ในเม็กซิโก. Retrieved from geothai