ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

ท่องเที่ยว ดวงตาแห่งซาฮารา Eye of Sahara ทะเลทรายล้านปี

ดวงตาแห่งซาฮารา

ดวงตาแห่งซาฮารา ดินแดนทะเลทรายแห้งแล้ง มองออกไปไกลสุดสายตา ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ผืนทะเลทรายเพียงอย่างเดียว พาเดินทางท่องเที่ยวสู่พื้นที่กว้างขนาดใหญ่ ถ่ายจากมุมสูงแล้วยิ่งน่าประหลาดใจ คล้ายกับดวงตากลมโตสีฟ้า ของสิ่งมีชีวิตนับหลายล้านปี

เผยความลับ ดวงตาแห่งซาฮารา หลายล้านปีก่อน

ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮารา (The Eye of the Sahara) หรือชื่อทางการว่า “Richat Structure” ทะเลทรายซาฮารา ตั้งอยู่ในประเทศมอริเตเนีย [1] ทอดยาวไปทั่วทั้งแอฟริกาเหนือ ด้วยพื้นที่กว่า 9,200,000 ตารางกิโลเมตร ถูกจัดอันดับเป็นทะเลทรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และร้อนมากที่สุด [2]

โดยมีหลุมวงกลมขนาดใหญ่ คล้ายกับดวงตา แผ่ขยายเป็นวงกว้างประมาณ 40 กิโลเมตร มีโครงสร้างของชั้นหินที่แตกต่างกัน ซึ่งนักธรณีวิทยาสำรวจแล้วว่า มีอายุยาวนานกว่า 100 ล้านปี สามารถมองเห็นจากระยะไกล 50 กิโลเมตร ได้อย่างชัดเจน หนึ่งในจุดสังเกตของนักบินอวกาศ ที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก

ต้นกำเนิด ดวงตาแห่งซาฮารา

ดวงตาแห่งซาฮารา

ย้อนไปหลายล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาคาดว่า ต้นกำเนิดของหิน มาจากพื้นโลกทั้งหมด แต่ก่อนเกิดการปะทุของภูเขาไฟใต้ผิวโลก ซึ่งไม่ใช่พื้นที่ทะเลทราย ในทางกลับกันเคยเป็นเขตอบอุ่น มีทางน้ำไหลผ่าน คาดว่าก่อตัวครั้งแรกที่ มหาทวีปแพนเจีย (ทวีปแยกออกจากกัน) ถูกลมพัดทับถมเป็นเวลานาน จนเกิดหินทรายเป็นชั้นในก้นทะเลสาบ จากการกัดกร่อนของลมและน้ำ ทำให้เกิดชั้นหินลักษณะคล้ายดวงตา

ลักษณะสำคัญของ ดวงตาแห่งซาฮารา

ดวงตาแห่งทะเลทรายซาฮาร่า ลักษณะโดดเด่นจะเป็น โครงสร้างรูปโดมคล้ายกับดวงตา ประกอบด้วยหินอัคนีต่าง ๆ ทั้งหินภูเขาไฟไรโอลิติก หินแกบบรอส หินคาร์โบนาไทต์ และหินคิมเบอร์ไลต์ โดยแปรสภาพก่อตัวเป็นวงแหวน มีสีฟ้าของชั้นหิน และสีเหลืองนวลของทะเลทราย

ดวงตาแห่งซาฮารา แลนด์มาร์คทะเลทรายในมอริเตเนีย

การเดินทางสำหรับนักผจญภัย หนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ท่ามกลางความร้อนระอุ ยังมีธรรมชาติที่แปลกประหลาด สามารถนั่งชมความสวยงาม จากวิวทิวทัศน์มุมสูงได้ โดยการนั่งเครื่องบิน หรือนั่งบอลลูน หรืออยากสัมผัสสถานที่จริง สามารถเดินในทะเลทราย แต่อาจมองไม่เห็นรูปร่าง ของดวงตาที่ชัดเจน

ดวงตาแห่งซาฮารา สภาพอากาศโดยรวม

สภาพภูมิอากาศในทะเลทราย เป็นเขตร้อนแห้งแล้ง แนวโน้มแสงแดดจัดคงที่ตลอดทั้งปี ประมาณ 3,600 ชั่วโมง / ปี (มากกว่าแสงแดด ในตอนกลางวันทั่วไปกว่า 82%) อุณหภูมิเฉลี่ย 41 – 47 องศาเซลเซียส และอาจสูงสุดถึง 80 องศาเซลเซียส มีเมฆค่อนข้างน้อย และโอกาสการเกิดฝนตกน้อยที่สุด ทั้งยังมีฤดูหนาวที่หนาวเย็นมาก อาจมีอุณหภูมิติดลบถึงจุดเยือกแข็งได้

สัตว์ในทะเลทราย ดวงตาแห่งซาฮารา

ดวงตาแห่งซาฮารา

จากสภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้ว แบบร้อนจัดถึงหนาวจัด ทำให้สัตว์มีการปรับตัว เข้ากับสภาพแวดล้อมเลวร้ายได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น สัตว์ไม่มีต่อมเหงื่อ มีชั้นเคลือบผิวกันความร้อน ความทนทานต่อ ภาวะขาดน้ำ และพฤติกรรมหากินกลางคืน สามารถพบสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • จิ้งจอกทะเลทราย : หรือหมาจิ้งจอกเฟนเนก มีขนาดตัวเล็ก และล่าเนื้อเป็นอาหารในยามกลางคืน โดยมีขนาดของหูเรียวยาว ช่วยให้ร่างกายเย็นขึ้น พร้อมระบายอากาศร้อนได้ดี
  • แมงป่องเหลือง : แมงป่องชนิดมีพิษรุนแรงที่สุด ประกอบด้วยสารพิษ ส่งผลต่อระบบประสาทถึงแก่ชีวิต รวมถึงคนด้วยเช่นกัน มักล่าเหยื่อขนาดเล็ก จนถึงเหยื่อขนาดใหญ่
  • เสือชีตาห์ซาฮารา : สายพันธุ์อาศัยในทะเลทราย แต่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว สามารถใช้ความเร็วในการล่าเนื้อได้ถึง 120 กิโลเมตร / ชั่วโมง มีความได้เปรียบในการล่า แค่เฉพาะตอนกลางวัน
  • งูพิษทะเลทราย : ลักษณะเด่นที่เปลือกตา สามารถระบุตัวตนได้ โดยมีสีที่กลมกลืนกับทะเลทราย สำหรับใช้อำพรางตัวในการล่าเหยื่อ ทั้งยังเลียนแบบการเคลื่อนไหวของหนอน เพื่อล่อเหยื่ออีกด้วย
  • อูฐอาหรับ : มีอูฐหลากหลายชนิด โดดเด่นด้วยโหนกเดี่ยว ขนตายาว (ปกป้องทรายฤทธิ์กัดกร่อน) มีหัวเข่าและข้อเท้านูนหนา (ปกป้องความร้อนจากพื้นทราย) และต่อต้านสภาวะขาดน้ำได้ดี

ที่มา: สัตว์ทะเลทรายซาฮาร่า [3]

สรุป ดวงตาแห่งซาฮารา “Richat Structure”

ดวงตาแห่งซาฮารา แลนด์มาร์คทะเลทราย ยังคงเป็นสถานที่น่าสนใจ ของนักวิทยาศาสตร์และนักธรณีวิทยา แม้ว่าจะอยู่ไกลในประเทศมอริเตเนีย แต่ก็ยังได้รับการมาเยือน ของนักท่องเที่ยวตลอดปี กับสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ไม่เหมือนใคร ความสวยงามที่จับต้องได้มานานกว่า 100 ล้านปี

อ้างอิง

[1] สำรวจโลก. (January 3, 2018). Richat Structure ดวงตาทะเลทราย. Retrieved from nextsteptv

[2] Wikipedia. (April 4, 2024). Sahara. Retrieved from Wikipedia

[3] meteorologiaenred. (2024). สัตว์ทะเลทรายซาฮาร่า. Retrieved from meteorologiaenred