ทางเข้า เว็บตรง

ยินดีต้อนรับ นักเดิมพันทั่วไทย

การแต่งกายของไทย ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

การแต่งกายของไทย

การแต่งกายของไทย ว่าด้วยเรื่องของการแต่งกายไม่ว่าจะเป็นอย่างไรแบบไหน การแต่งกายก็ถือเป็นการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ค่านิยมในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ไทยเราก็เช่นกันโดยเรื่องของการแต่งกายนี้มีประวัติศาสตร์เล่าขานมาอย่างยาวนานและมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ

ยุคสมัยเปลี่ยน การแต่งกายของไทย ก็เปลี่ยนตาม

การแต่งกายของไทย

เมื่อช่วงเวลาผันเปลี่ยนไปทุกอย่างก็ต้องมีการเปลี่ยนเช่นกัน ด้านนวัตกรรมมากมายก็มีการพัฒนา ด้านแฟชั่นเสื้อผ้าเองก็มีการเปลี่ยนแปลง เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ายุคสมัยรัตนโกสินทร์ ในแต่ละรัชกาลจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

การแต่งกายของไทย ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-5

  • ช่วงของรัชกาลที่ 1 ฝ่ายหญิงจะนุ่งห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าถุงจับจีบสวยงาม มีชายพก ด้านของทรงผมจะเสยขึ้น และด้านล่างปล่อยยาวสลวย
  • รัชกาลที่ 2 ผู้หญิงในยุคนี้จะมีการห่มสไบเฉียง และนุ่งผ้าถุง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของทรงผมที่มีการเกล้าโดยเรียกว่า ผมปีก หรือตัดผมทรงมหาดไทยเหมือนชาย ส่วนบุรุษจะแต่งกายด้วยการสวมใส่โจงกระเบน ยังไม่นิยมสวมใส่เสื้อ ทรงผมนิยมเป็นทรงมหาดไทย
  • รัชกาลที่ 3 ผู้หญิงในยุคนี้จะมีการห่มสไบเฉียง และนุ่งผ้าถุงรวมไปถึงโจงกระเบน หรือในบางครั้งคราวอาจมีการสวมเสื้อแขนทรงกระบอกก่อนจึงสวมสไบทับ ส่วนบุรุษจะแต่งกายด้วยการสวมใส่โจงกระเบน และสวมเสื้อแขนยาวหรือไม่สวมเสื้อ
  • ช่วงรัชกาลที่ 4 ฝ่ายหญิงจะนิยมสวมใส่เสื้อด้านในและห่มสไบเฉียงด้านนอก ท่อนล่างเป็นโจงกระเบน ผมปีกด้านหลังตัดสั้น หรือไว้ทรงเดียวกับผู้ชาย ทางฝ่ายชายจะนิยมสวมใส่เสื้อคอจีน มีผ้าคาดเอว ท่อนล่างเป็นโจงกระเบน
  • ช่วงรัชกาลที่ 5 ในรัชกาลที่ห้านี้จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการแต่งตัว เริ่มได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของตะวันตกเข้ามา จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงด้านการแต่งกายเด่นชัดขึ้น โดยผู้หญิงจะนิยมสวมใส่โจงกระเบน เสื้อกระบอกแขนยาวมีลูกไม้ หากมีงานพิธีจะสวมตาด ใส่ถุงเท้าและรองเท้า นิยมไว้ผมยาวประบ่า ฝ่ายชาย สวมใส่เสื้อราชปะแตน โจงกระเบน เมื่อต้องออกงานจะใส่รองเท้าและถุงเท้า ทรงผมมีการเปลี่ยนไปไว้ผมยาวแบบยุโรป

รัชกาลที่ 6-9 กับ การแต่งกายของไทย

การแต่งกายของไทย
  • ในรัชกาลที่ 6 ฝ่ายหญิงจะเริ่มใส่ผ้าซิ่นตามราชนิยม เสื้อเป็นผ้าแพรบางโปร่ง คอกว้างเล็กน้อย ทรงผมเป็นทรงประบ่าหรือบ๊อบสั้น และมีตกแต่งศีรษะด้วยการคาดผ้าหรือไข่มุก ชายจะแต่งกายด้วยการนุ่งกระเบน เมื่อมีงานพิธีจะสวมสูทนอกผูกหูกระต่าย
  • ในรัชกาลที่ 7 โดยรวมจะมีการแต่งกายไปในทางตะวันตกมากขึ้น ในสมัยนี้หญิงสาวจะนิยมดัดผมและไว้ยาวประบ่า สวมเสื้อโปร่ง ผ้าถุงที่สวมจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณเข่า การแต่งกายของผู้ชายจะสวมใส่กางเกงขายาวเสื้อสูท
  • ในรัชกาลที่ 8 ผู้หญิงเปลี่ยนจากการนุ่งผ้าซิ่นมาเป็นการใส่กระโปรง เสื้อด้านบนเป็นแบบใดก็ได้แต่ต้องมิดชิด ความนิยมด้านทรงผมยังคงเดิม และมีสิ่งที่เสริมเข้ามาคือการสวมหมวก ผู้ชายแต่งกายเป็นสากล เสื้อแขนยาว กางเกงขายาวและสวมหมวก
  • รัชกาลที่ 9 ถึงปัจจุบัน ชุดไทยที่สวมใส่จะเป็น ชุดไทยพระราชนิยม โดยชุดไทยที่รู้จักกันดีจะเป็นชุดไทยจิตรลดา ฝ่ายชายก็จะเป็นเสื้อทรงกระบอกหรือแบบสากล

ซึ่งการแต่งกายในรัชกาลที่ 9 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันนั้นมีความหลากหลาย และต่างไปจากเดิมอย่างมาก เพียงแต่ต้องเลือกสวมใส่ให้ถูกกาลเทศะ เลือกใส่ให้โอกาสเท่านั้น

การแต่งกายของไทย อดีต VS ปัจจุบัน

การแต่งกายของไทย

ต่อไปทางเราจะพาทุกท่านไปเรียนรู้ความต่างด้านการแต่งกาย เมื่อมีงานสำคัญเช่นงานแต่งงาน งานบุญใหญ่ งานสำคัญจะเป็นอย่างไร มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนไปดูพร้อมกันเลย

ในอดีต การแต่งกายของไทย ชุดออกงานเป็นอย่างไร

ในสมัยอยุธยาการแต่งกายจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะต่างกันไปตามสถานที่อยู่ อย่างเช่นหากเราเป็นชาวอยุธยาเกิดในอยุธยามีฐานะกลางๆ การแต่งกายเวลาออกงานบุญหรืองานสำคัญ

  • ผู้หญิงจะสวมใส่เสื้อแขนกระบอกยาวและห่มทับด้วยสไบเฉียง นุ่งโจงกระเบน
  • ผู้หญิงที่มีฐานะร่ำรวยจะนิยมใช้ผ้าที่มีเนื้อดี หรือ ผ้าสีม่วง ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงฐานะที่ร่ำรวยเพราะผ้าสีม่วงในสมัยนั้นเป็นสีย้อมยากและราคาแพง และส่วนท่อนล่างจะนุ่งผ้าซิ่นเป็นส่วนใหญ่

การแต่งกายของไทย ในปัจจุบันเมื่อมีงานสำคัญจะแต่งกายอย่างไร

การแต่งกายออกงานในปัจจุบันจะมีความเป็นสากล และมีความเป็นไทยปะปนตามโอกาส

  • ออกงานสำคัญในปัจจุบันจะนิยมใส่เป็นชุดราตรีสีต่างๆ
  • ชุดไทยรูปแบบต่างๆ ซึ่งทั่วไปที่เห็นจะเป็นในส่วนของงานแต่งงานซึ่งเจ้าสาวเป็นผู้สวมใส่
  • ในส่วนผู้ชายการแต่งกายจะไม่ต่างอะไรกันมากนักเพียงใส่สูทเท่านั้น

แนะนำรีวิวชุดไทยของ การแต่งกายของไทย ที่นิยมใช้ในสมัยนี้

การแต่งกายของไทย

ชุดไทยนั้นถือเป็นชุดประจำชาติที่โอกาสในการใช้งานหรือการสวมใส่นั้น ค่อนข้างน้อยซึ่งจะเห็นได้บ่อยในการใช้งานในส่วนของงานแต่งงาน โดยเป็นวันสำคัญของหญิงไทยที่ใฝ่ฝัน และในปัจจุบันชุดไทยพระราชนิยมที่มีทั้งหมด 8 แบบด้วยกันและใช้ในโอกาสที่แตกต่างกันดังนี้

การแต่งกายของไทย ชุดไทยประเภทที่ 1-4

  • ชุดไทยเรือนต้น เป็นชุดไทยแบบลำลอง ลักษณะเป็นเสื้อแขนกระบอก คอกลม ผ่าอก ไม่มีขอบตั้ง นุ่งกับผ้าซิ่นทอใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามยาว ตัวซิ่นจะยาวจรดเท้า ใช้ได้หลายโอกาสและนิยมใช้เป็นชุดงานเช้า ในงานที่ไม่เป็นพิธีการมากนัก เช่น งานบุญต่างๆ ตักบาตรทำบุญ
  • ชุดไทยจิตรลดา ชุดนี้ตั้งชื่อตามพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นชุดที่เป็นทางการกว่าชุดแรกที่เราได้แนะนำไปคือ ชุดไทยเรือนต้น ตัวชุดเป็นเสื้อคอกลมขอบตั้งขึ้นมาเพียงเล็กน้อย แขนกระบอก เสื้อกับซิ่นแยกชิ้น ตัวซิ่นยาวป้ายหน้า นิยมใช้ในงานพิธีกลางวันหรืองานที่ฝ่ายชายแต่งเต็มยศ ในด้านของเนื้อผ้าสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมตามโอกาส การแต่งกายโดยรวมไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • ชุดไทยอมรินทร์ ตั้งชื่อตามพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ลักษณะแบบเหมือนกับชุดไทยจิตรลดา แต่ในส่วนของเนื้อผ้าและเครื่องประดับจะหรูหรากว่ามาก ในการผลิตจะใช้ผ้าไหมยกดอกที่มีสีทองแกมหรือยกสีทองทั้งตัว ลักษณะเสื้อเป็นคอตั้ง แขนยาว เสื้อและซิ่นจะเป็นสองท่อน ในการแต่งกายจะไม่ใช้เข็มขัดและมีเครื่องประดับ ชุดนี้มักจะใช้ในพิธีช่วงค่ำ เหมาะกับการใช้งานเลี้ยงรับรอง หรือโอกาสที่กำหนดให้แต่งกายครึ่งยศหรือเต็มยศ
  • ชุดไทยบรมพิมาน ตั้งชื่อตามพระที่นั่งบรมพิมาน เสื้อเป็นแบบขอบตั้งคอกลม มีแขนยาวผ่าด้านข้างและด้านหลัง ตัวผ้าซิ่นจะเป็นลักษณะจีบหน้ามีชายพก มีทั้งแบบแยกชิ้นและเย็บติดกัน มีเข็มขัด ความยาวจรดข้อเท้า มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นิยมใช้ในงานพิธีภาคค่ำ เป็นอีกหนึ่งชุดเจ้าสาวในพิธีพระราชทานน้ำสังข์

ชุดไทยที่อยากให้รู้จัก การแต่งกายของไทย แบบที่ 5-8

การแต่งกายของไทย
  • ชุดไทยจักรี ได้รับการตั้งชื่อตามพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะเป็นชุดไทยแบบห่มสไบ ท่อนบนห่มสไบชายเดียวปักดิ้นทอง เปิดไหล่หนึ่งข้าง รูปแบบมีทั้งเย็บติดกันหรือแยกเป็นชิ้นเป็นสไบต่างหากก็ทำได้ ชายของตัวสไบจะทอดยาวตามความเหมาะสม ตัวผ้านุ่งจะตัดเป็นแบบหน้านาง จีบยกข้างหน้าและมีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น สร้อยคอ ต่างหู สร้อยข้อมือ ชุดนี้จะนิยมใช้ในงานพิธีภาคค่ำ ใช้ในงานแต่งหรืองานราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการได้
  • ชุดไทยจักรพรรดิ ชุดนี้ได้รับการตั้งชื่อตามพระตำหนักจักรพรรดิพิมาน นับเป็นชุดแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ในยุคสมัยโบราณ ตัวชุดจะเป็นชุดไทยห่มสไบเฉียง คล้ายคลึงกับชุดไทยจักรี ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักด้วยลูกปัดสีทองบนสไบชั้นนอก ในส่วนของผ้านุ่งยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง และมีชายพก มีเครื่องประดับทั้งรัดเกล้า รัดแขน มีสร้อยสังวาล สร้อยข้อมือ สร้อยคอและต่างหู โดยชุดนี้มักใช้ในงานที่มีพิธีรีตองมากกว่า เช่นงานราชพิธีต่างๆ หรืองานสมรส
  • ชุดไทยดุสิต ชื่อชุดตั้งชื่อตามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตัวเสื้อด้านและด้านหลังคว้านกว้าง แขนเสื้อเป็นแบบแขนกุด ลวดลายมีความสวยงาม เหมาะกับการใส่สะพายในพระราชพิธีเต็มยศ ตัวผ้าซิ่นยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านางและมีชายพก ลายดกอพิกุล เครื่องประดับใช้ได้ตามความเหมาะสม
  • ชุดไทยศิวาลัย ชื่อนี้ได้มาจากพระที่นั่งศิวาลัย เป็นชุดไทยของคุณหญิงสมัยก่อน ลักษณะคล้ายกับชุดไทยบรมพิมาน เป็นเสื้อแขนยาวคอตั้งเล็กน้อย แต่มีการห่มสไบปักลายไทยอย่างชุดไทยจักรพรรดิ โดยไม่ต้องมีแพรจีบรองพื้น ท่อนล่างเย็บติดกับตัวเสื้อ ตัดแบบหน้านาง มีชายพก มีเข็มขัด เครื่องประดับตามสมควรมักใช้ในงานช่วงค่ำ งานฉลองสมรส

สรุป การแต่งกายของไทย

โดยสรุปแล้วการแต่งกายของชาวไทย จะมีการแต่งกายที่แตกต่างออกไปตามวาระโอกาส โดยส่วนใหญ่ชุดไทยจะใช้ในงานพิธีหรืองานสำคัญ เห็นได้บ่อยครั้งในงานแต่งงาน รูปแบบของชุดจะอยู่ที่การเลือกใช้งาน